Welcome

วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คำถามท้ายบทที่8


การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด

ก.ในปัจจุบัน

เนื่องมาจากอัตราการเติบโตของการใช้อินเตอร์เน็ตและการเพิ่มขึ้นของเว็บไซต์ทางธุรกิจที่มีอย่างต่อเนื่อง ทำให้การประกอบธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจบนอินเตอร์เน็ตเป็นช่องทางการตลาดขนาดใหญ่ของโลกไร้พรมแดนที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายได้โดยตรงอย่างรวดเร็ว ไร้ขีดจำกัดของเรื่องเวลาและสถานที่ การแข่งขันทางการค้าเสรีและระหว่างประเทศที่ต้องแข่งขันและชิงความได้เปรียบกันที่ ความเร็ว
ทั้งการนำเสนอสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน และได้รับความนิยมเพิ่มขันเป็นลำดับ
ข.ใน5ปีข้างหน้า

เป้าหมายในระยะสั้น ก็คืออีก 5 ปีข้างหน้า ควรจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายทางด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทางสื่อสารและโทรคมนาคม ที่เป็นดาวรุ่งของแต่ละประเภท ในอัตราเฉลี่ย ร้อยละ 0.5 เพิ่มจากสัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 0.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)ในแต่ละปี เทียบกับอัตราส่วนเฉลี่ยดังกล่าวของมาเลเซีย ร้อยละ 0.8 สิงคโปร์ สัดส่วนเฉลี่ยร้อยละ 1 ไต้หวัน ร้อยละ 1.4 และเกาหลีใต้ร้อยละ 2 ส่วนประเทศอุตสาหกรรม สัดส่วนการใช้จ่ายประมาณร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
          เป้าหมายในอนาคตก็ควรวางเป้าหมายการผลิตและพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในประเทศ ซึ่งควรกำหนดสัดส่วนเพิ่มร้อยละ 70 ที่เหลือร้อยละ 30 ที่ซื้อจากต่างประเทศ และทิศทางอนาคตวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิต ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ควรใช้เทคโนโลยีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความสมดุลย์ในสังคม
     
  ใน 10 ปีข้างหน้า
       ในอนาคต 5 -10 ปีข้างหน้า รัฐบาลควรร่วมมือกับภาคเอกชนวางแผนกระจายระบบการสื่อสารและโทรคมนาคมทั่วประเทศเพื่อสร้างความสมดุลย์ในสังคม (Social Balance) โดยมีการขยายโครงข่ายอินเตอร์เน็ตทั่วประเทศ เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเติบโตของความต้องการข้อมูลข่าวสารทั่วไป และเชิงพาณิชย์ อาทิ การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce) ในปี 2543 ยอดขายด้านอี-คอมเมิร์ซจะสูงขึ้น ประมาณ 50,920 ล้านบาท และอีก 5 ปีข้างหน้าอี-คอมเมิร์ซจะเติบโตขึ้น ประมาณ 40 ล้านล้านบาท
      นอกจากนี้ ทิศทางอนาคตเทคโนโลยีไร้สายมาแรงมาก อาทิเช่น ระบบแว็ป หรือ Wireless Application Protocal (WAP) ก็คือระบบโทรศัพท์เคลื่อนแบบเดิมที่ติดต่อเชื่อมโยงกับระบบอินเตอร์เน็ตได้ โดยไม่ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาติดตัว ซึ่งระบบนี้จะเพิ่มบทบาทสำคัญต่อผู้บริโภค และการแข่งขันจะรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากต่อไปประเทศจะเปิดเสรีโทรคมนาคม แนวโน้มราคาของโทรศัพท์เคลื่อนที่ควรเป็นราคาที่เหมาะสม ทั้งคนรวยและคนจน สามารถใช้ได้อย่างเท่าเทียมกัน

      ระบบที่มีบทบาทสำคัญในอนาคต ได้แก่ โครงสร้างโทรคมพื้นฐาน (Basic Telecom) จะประกอบด้วย สื่อสัญญาน เช่น สื่อสัญญาณสายใยแก้ว สื่อสัญญาณไมโครเวฟ สื่อสัญญาณดาวเทียม และ สื่อสัญญาณไร้สาย เป็นต้น

คำถามท้ายบทหน่วยการเรียนที่6

                                       คำถามท้ายบทหน่วยการเรียนที่6
      1)  อินเทอร์เน็ต(Internet)หมายความว่าอย่างไร
อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายเฉพาะส่วนขององค์การ หรือหน่วยงาน ที่นำซอฟต์แวร์ หรือฮาร์ดแวร์แบบอินเทอร์เน็ตมาประยุกต์ใช้ อินทราเน็ตจึงเป็นเครือข่าย เพื่อระบบงานภายในโดยมุ่งเน้นข้อมูลและสารสนเทศเพื่อบริการแก่บุคลากร เครือข่ายอินทราเน็ต จะต่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตด้วยหรือไม่นั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญ แต่แนวคิดหลักของอินทราเน็ต คือ การสร้างเครือข่ายในองค์การโดยมีคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้บริการข้อมูลในรูปแบบเดียวกับที่ใช้งานในอินเทอร์เน็ต และขยายเทอร์มินัลเครือข่ายไปยังทุกแผนก ให้บุคลากรสามารถค้นข้อมูลและสื่อสารถึงกันได้ เซิร์ฟเวอร์หลักภายในอินเทอร์เน็ต คือ เว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งใช้เป็นศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารระบบ WWW ให้บริการข้อมูลได้ทั้งข้อความเสียง ภาพนิ่ง หรือภาพเคลื่อนไหวผ่านทางโปรแกรม Browser ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งานโปรแกรม Browser ส่วนใหญ่ได้ผนวกบริการหลักของอินเทอร์เน็ตไว้ในตัว เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) การถ่ายโอนย้ายแฟ้ม (FTP) หรือกระดานข่าย (Use Net) เป็นต้น
2) จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
ด้านการศึกษา  อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญ  ดังนี้
1.  สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ  ข้อมูลด้านการบันเทิง  ด้านการแพทย์  และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
 2.  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
3.  นักเรียนนักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้  ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง  ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ
 3)  จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
      =  1.ใช้ค้นหาข้อมูลข่าวสารที่อยากรู้ รวมทั้งเหตุบ้านการเมืองต่างๆโดยค้นหาจากหนังสือพิมพ์
  หรือนิตยสารต่างๆที่ออนไลน์อยู่บนเว็บ
     2.ใช้ในการทำธุรกิจค้าขายผ่านทางอินเตอร์เน็ท หรือที่เรียกกันว่า e-commerceทั้งในด้านการซื้อ การขาย การตลาด การโฆษณา เพื่อเป็นการลดต้นทุน
     3.ใช้คุยกับเพื่อนผ่านทางmsn, chat หรือส่ง e-mailหากัน และผ่านบริการอื่นๆอีกมากมาย
     4.ใช้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันผ่านblog
     5.ใช้ในความบันเทิงต่างๆ เช่นฟังเพลง เล่นเกมส์ ดูทีวีออนไลน์ อ่านนิตยสาร เป็นต้น
     6.ใช้หาข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาการเรียนออนไลน์ หรือe-learning รวมทั้งลงทะเบียนเรียนด้วย
     7.ใช้ค้นหาและดาวน์โหลดโปรแกรมซอฟต์แวร์ต่างๆ เพื่อปรับปรุงคอมพิวเตอร์ของเราให้ทันสมัยขึ้น
     8.ใช้หางานและสมัครงานผ่านอินเตอร์เน็ต
     9.ใช้ส่งงานและเขียนจดหมาย หรือe-mail
    10.ใช้ในงานธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม คือ บริการจองห้องพักผ่านทางอินเตอร์เน็ตธุรกิจสายการบินคือการจองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
  4 )  การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร
   =  การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem ไปยังเอสไอพีที่เราเป็นสมาชิกอยู่ อุปกรณ์แปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณแอนาล็อกผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง และขณะเดียวกันยังสามารถแปลงสัญญาณแอนาล็อกกลับเป็นสัญญาณดิจิทัลได้ โดยปกติเราใช้วิธีการนี้ติดต่อจากที่บ้านหรือที่ทำงานที่ไม่มีระบบเครือข่ายเชื่อมโยงถึง ความเร็วของการติดต่อขึ้นอยู่กับโมเด็ม ปัจจุบันมีความเร็วขนาด 64 กิโลบิตต่อวินาที
 5)  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตwww มีประโยชน์อย่างไร
  =  1.  สามารถแชร์ข้อมูลใช้ร่วมกันได้ข้อมูลต่างๆในแต่ละเครื่องภายในระบบหากมีผู้อื่นต้องการใช้  คุณสามารถแชร์ให้ผู้อื่นนำไปใช้ได้ หรือข้อมูลที่เป็นส่วนรวมก็สามารถแชร์ไว้เพื่อให้หลายๆฝ่ายนำไปใช้งานได้  ซึ่งก็จะช่วยทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บและช่วยให้การปรับปรุงข้อมูลในระบบง่ายขึ้นและไม่เกิดความขัดแย้งของข้อมูลด้วย เพราะข้อมูลมีอยู่ชุดเดียว
    2.  สามารถแชร์อุปกรณ์ต่างๆร่วมกันได้  เช่น เครื่องพิมพ์  สแกนเนอร์  ซิปไดร์ฟ  เป็นต้น  โดยที่ไม่จำเป็นต้องซื้ออุปกรณ์เหล่านั้นมาติดตั้งกับทุกๆเครื่อง  เช่นในบ้านคุณมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด 4 เครื่อง  อาจจะซื้อเครื่องพิมพ์มาเพียงตัวเดียวและแชร์เครื่องพิมพ์นั้นเพื่อใช้ร่วมกันได้
    3.  สามารถใช้โปรแกรมร่วมกันหลายๆเครื่องได้  เช่น  ในห้อง LAB  คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวน คอมพิวเตอร์ที่มีจำนวนเครื่องในระบบจำนวน  30 เครื่อง  คุณสามารถซื้อโปรแกรมเพียงแค่ 1 ชุดและสามารถใช้งานร่วมกันได้  ซึ่งจะทำให้สะดวกในการดูแลรักษาด้วย
    4.  การสื่อสารในระบบเครือข่ายผู้ใช้สามารถเชื่อมกับเครื่องอื่นๆในระบบได้  เช่น  อาจจะส่งข้อความจากเครื่องของคุณไปยังเครื่องของคนอื่นๆได้  นอกจากนี้คุณยังสามารถใช้ E - Mail ส่งข้อความข่าวสารต่างๆภายในสำนักงานได้อีก  เช่น  แจ้งกำหนดการต่างๆแจ้งข้อมูลต่างๆให้ทุกๆคนทราบ  โดยไม่ต้องพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์เพื่อแจกจ่าย  ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง
ทำให้คุณมีประสบการณ์ในระบบเครือข่ายมากขึ้นและจะทำให้คุณรู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องยากเลย
  6 ) จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ E-mail
  = 1. ทำให้การให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค สำหรับอีเมล์ในทุกแห่งทั่วโลกที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อถึงกันได้ สามารถเข้าไปสถานที่เหล่านั้นได้ทุกที่ ทำให้ผู้คนทั่วโลกติดต่อถึงกันได้ทันที ผู้รับสามารถจะรับข่าวสารจาก อีเมล์ได้แทบจะทันทีที่ผู้ส่งจดหมายส่งข้อมูลผ่านทางคอมพิวเตอร์เสร็จสิ้น
    2. สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ต้องการได้ทุกเวลา แม้ผู้รับจะไม่ได้อยู่ที่หน้าจอ คอมพิวเตอร์ก็ตาม จดหมายจะถูกเก็บไว้ในตู้จดหมายของคอมพิวเตอร์และเป็นส่วนตัว จนกว่า เจ้าของจดหมายที่มีรหัสผ่านจะเปิดตู้จดหมายของตนเอง

    3. สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับหลายๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องเสียเวลาส่งให้ ทีละคน กรณีนี้จะใช้กับจดหมายที่เป็นข้อความเดียวกัน เช่น หนังสือเวียนแจ้งข่าวให้สมาชิกใน กลุ่มทราบหรือเป็นการนัดหมายระหว่างสมาชิกในกลุ่ม เป็นต้น

คำถามท้ายบทหน่วยการเรียนที่  7

                                คำถามท้ายบทหน่วยการเรียนที่  7
จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท

1.1           LAN (Local Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น





         =   เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้งานอยู่ในบริเวณที่ไม่กว้างนัก     อาจใช้อยู่ภายในอาคารเดียวกันหรืออาคารที่อยู่ใกล้กัน เช่น  ภายในมหาวิทยาลัย  อาคารสำนักงาน  คลังสินค้า หรือโรงงาน เป็นต้น  การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง และมีข้อผิดพลาดน้อย ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่นจึงถูกออกแบบมาให้ช่วยลดต้นทุนและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกัน
1.2                1.2 MAN (Metropolitan Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับเมือง








=   เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง Lan และ Wan เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้ภายในเมืองหรือจังหวัดเท่านั้น การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน เช่น ธนาคาร   เครือข่ายแวนเชื่อมโยงระยะไกลมาก จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากมีสัญญาณรบกวนในสาย เทคโนโลยีที่ใช้กับเครือข่ายแวนมีความหลากหลาย มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศด้วยช่องสัญญาณดาวเทียม เส้นใยนำแสง คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ สายเคเบิล
1.3         1.3  WAN (Wide Area Network) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศหรือเครือข่ายบริเวณกว้าง
        =  เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่อยู่ห่างไกลกันเข้าด้วยกัน อาจจะต้องเป็นการติดต่อสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีปหรือทั่วโลกก็ได้ ในการเชื่อมการติดต่อนั้น จะต้องมีการต่อเข้ากับระบบสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทยเสียก่อน เพราะจะเป็นการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันโดยปกติมีอัตราการส่งข้อมูลที่ต่ำและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาด การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น โมเด็ม (Modem) มาช่วย


  อินทราเน็ต(Intranet)หมายความว่าอย่างไร
         อินทราเน็ต (intranet) หมายความว่า ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โพรโทคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ตสำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
 3  จงยกตังอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
    การค้นแบบนามานุกรม  (Directory)
หมายถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง  ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือเว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด  ซึ่งการจัดทำแบบนามานุกรมนี้มีข้อดีคือ ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากนำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ และสามารถกำหนดค้นได้ง่ายในหัวข้อโดยเลือกจากรายการที่ทำไว้แล้ว
เว็บไซต์ที่มีการจัดเรียงข้อมูลไว้แบบนามานุกรม เช่น www.yahoo.com , www.lycos.com ww.sanook.com, www.siamguru.com www.hotmail.com www.thaimail.com เป็นต้น


  จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ Google พอสังเขป
  ขั้นตอนการสืบค้นเว็บไซต์ข้อมูลด้วย Search Engine
               1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/
               2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ เว็บ
               3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
               4. กดที่ปุ่ม ค้นหา
               5. ระบบจะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงออกมาในรูปแบบของลิงค์พร้อมคำอธิบายประกอบ
     

            


 5   Digital library หมายความว่าอย่างไร
        


                                                                                                                                          



     หมายถึง ห้องสมุดที่ต้องการเทคโนโลยีเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงแหล่งสารสนเทศที่อยู่    หลายๆ แหล่งและการเชื่อมโยงนั้นต้องไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ใช้และสามารถเข้าถึง ทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างกว้างขวางเป็นสากล คอลเลกชั่นที่เก็บไม่จำกัดเฉพาะเอกสาร แต่ยังครอบคลุมถึงวัสดุดิจิตอลอื่น ๆ ที่สร้างขึ้น ซึ่งไม่อยู่ในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ องค์ประกอบของห้องสมุดดิจิตอล ได้แก่ ส่วนเชื่อมต่อ ผู้ใช้ (User interface) ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนสำหรับผู้ใช้และส่วนสำหรับผู้ควบคุมโดยผู้ใช้สามารถใช้เว็บบราวเซอร์ในการติดต่อกับส่วนบริการผู้ใช้ได้
 6  จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา



   เว็บไซต์สำนักข่าว BBC ของอังกฤษ เป็นเว็บไซต์ยอดนิยมทางการศึกษาของนักเรียนทั่วโลกครับ รวมถึงในประเทศไทยด้วย ซึ่งมีเนื้อหาที่หลากหลายของข่าว ทั้งเทคโนโลยี เศรษฐกิจ การเมือง www.bbc.co.uk

วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา

  อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อบนระบบเครือข่ายการทำงานของระบบ Network และ Internet
อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อบนระบบเครือข่าย
    ระบบเครือข่ายยังต้องอาศัยอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อม และในบางครั้งก็ต้องค้นหาเส้นทางการขนส่งข้อมูลระหว่างโหมด และระหว่างส่วนต่างๆ ของระบบเครือข่าย ซึ่งเชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น อุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อบนระบบเครือข่าย ประกอบด้วย อุปกรณ์รวมสัญญาณ อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย
1 อุปกรณ์รวมสัญญาณ
1.1            มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer) นิยมเรียกกันว่า มัก (MUX) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการรวมข้อมูล (multiplex) tเครื่องเทอร์มินัลจำนวนหนึ่งเข้าด้วยกัน และส่งผ่านไปยังสายสื่อสารเดียวกัน  และที่ปลายทาง MUX อีกตัวจะทำหน้าที่แยกข้อมูล (de-multiplex) ส่งไปยังจุดหมายที่ต้องการการรวมข้อมูล (Mutiplexing)  
มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer)
    การรวมข้อมูล แบบmultiplex เป็นวิธีการรวมข้อมูลจากหลายๆ จุด แล้วส่งผ่านไปตามสายส่งเพียงสายเดียว ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 แบบคือ
1. การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลา (Time Division Multiplexer หรือ TDM
2.การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่  (Frequency Division Multiplexer หรือ FDM)
การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลา (Time Division Multiplexer หรือ TDM)
การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งเวลาจะใช้เส้นทางเพียงเส้นทางเดียว และคลื่นพาห์ความถี่เดียวเท่านั้น แต่ผู้ใช้แต่ละคนจะได้รับการจัดสรรเวลาในการเข้าใช้ช่องสัญญาณเพื่อส่งข้อมูลไปยังปลายทาง 
การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่ (Frequency Division Multiplexer หรือ FDM)
        เป็นวิธีที่ใช้กันทั้งระบบที่มีสายและระบบคลื่นวิทยุ หลักการของการมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความถี่คือ การรวมสัญญาณจากแหล่งต่างๆ ให้อยู่ในคลื่นพาห์เดียวกันที่ความถี่ต่างๆ สัญญาณเหล่านี้สามารถที่จะใช้เส้นทางร่วมกันได้

2. คอนเซนเตรเตอร์ (Concentrator) เรียกสั้นๆ ว่า คอนเซน เป็นมัลติเพลกเซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น คือ
      -มีหน่วยความจำ (buffer) ที่ใช้เก็บข้อมูลเพื่อส่งต่อได้ทำให้สามารถเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงกับความเร็วต่ำได้
    - มีการบีบอัดข้อมูล (compress) เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลได้มากขึ้น



3. ฮับ (Hub)  เป็นอุปกรณ์ที่เห็นได้อย่างเด่นชัดในระบบเครือข่ายที่ใช้โทโปโลยีแบบดาว มีการใช้ฮับอย่างแพร่หลายในระบบเครือข่าย2 ประเภท คือ 10 BaseT Ethernet และToken Ring ซึ่งในระบบเครือข่ายแต่ละประเภท ฮับจะเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อโหมดต่างๆ และทำให้โหมดเหล่านี้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ โดย ทำการติดตั้งฮับไว้ที่ศูนย์กลางของโทโปโลยีแบบดาว โหมดแต่ละโหมดที่เข้ามามีส่วนร่วมในระบบเครือข่ายจะเชื่อมต่อผ่านฮับ และจะสื่อสารกันโดยส่งข้อมูลข่าวสารผ่านฮับ (ต่อหน้าถัดไป

อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย

  1  รีพีตเตอร์ (Repeater)  รีพีตเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับฟิสิคัลเลเยอร์ ( Physical Layer) ใน OSI Model มีหน้าที่เชื่อมต่อสำหรับขยายสัญญาณให้กับเครือข่ายเพื่อเพิ่มระยะทางในการรับส่งข้อมูลให้กับเครือข่ายให้ไกลออกไปได้กว่าปกติ ข้อจำกัดคือ ทำหน้าที่ในการส่งต่อสัญญาณที่ได้มาเท่านั้น จะไม่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่าย ซึ่งอาศัยวิธีการ access ที่แตกต่างกัน เช่น Ethernet กับ Token Ring และไม่รู้จักลักษณะของข้อมูลที่แฝงมากับสัญญาณเลย
  2 บริดจ์ (Bridge)  บริดจ์ มักใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน (LAN Segment) 2 วงเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของเครือข่ายออกไปเรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนัก โดยบริดจ์อาจเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์เฉพาะ หรือ ซอฟแวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์
  3 สวิตซ์ (Switch)  สวิตซ์ หรือที่นิยมเรียกว่า อีเธอร์เนตสวิตซ์ (Ethernet Switch) จะเป็นบริดจ์แบบหลายช่องทาง (Multiport Bridge) ที่นิยมใช้ในระบบเครือข่าย LAN แบบ Ethernet เพื่อใช้เชื่อมต่อเครือข่ายหลายๆ เครือข่าย (Segment) เข้าด้วยกัน สวิตซ์จะช่วยลดการจราจรระหว่างเครือข่ายที่ไม่จำเป็น และเนื่องจากการเชื่อมต่อแต่ละช่องทางกระทำอยู่ภายในตัวสวิตซ์เองทำให้สามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลในแต่ละเครือข่าย(Switching) ได้อย่างรวดเร็วกว่าการใช้บริดจ์จำนวนหลายๆ ตัวเชื่อมต่อกัน
  4 เราท์เตอร์ (Router)    เราท์เตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับที่สูงกว่าบริดจ์ทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกันได้ และสามารถทำการกรอง (Filter) เลือกเฉพาะชนิดของข้อมูลที่ระบุไว้ว่าให้ผ่านไปได้ ทำให้ช่วยลดปัญหาการจราจรที่คับคั่งของข้อมูล และเพิ่มระดับความปลอดภัยของเครือข่าย นอกจากนี้ เราท์เตอร์ยังสามารถหาเส้นทางการส่งข้อมูลที่เหมาะสมให้โดยอัตโนมัติด้วย แต่เราท์เตอร์จะเป็นอุปกรณ์ที่ขึ้นอยู่กับโปรโตคอล กล่าวคือ ในการใช้งานจะต้องเลือกซื้อเราท์เตอร์ที่สนับสนุนโปรโตคอลเครือข่ายที่ต้องการจะเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
  5  เกทเวย์ (Gateway)  เกทเวย์ เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อและแปลงข้อมูลระหว่างเครือข่ายที่แตกต่างกันทั้งในส่วนของโปรโตคอล และสถาปัตยกรรมเครือข่าย เช่น เชื่อมต่อและแปลงข้อมูลระหว่างระบบเครือข่าย LAN และระบบ Mainframe หรือเชื่อมระหว่างเครือข่าย SNA ของ IBM กับ DECNet ของ DEC เป็นต้น  โดยปกติ เกทเวย์มักเป็น Software Package ที่ใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง (ซึ่งทำให้เครื่องนั้นมีสถานะเกทเวย์) และมักใช้สำหรับเชื่อม Workstation เข้าสู่เครื่องที่เป็นเครื่องหลัก (Host) ทำในเครื่องเป็น Workstation สามารถทำงานติดต่อกับเครื่องหลักได้โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับข้อแตกต่างของระบบเลย
รูปแบบโครงสร้างของเครือข่าย (Network Topology)
   1.        แบบดาว เป็นแบบการต่อสายเชื่อมโยง โดยการนำสถานีต่างๆ มาต่อร่วมกันกับหน่วยสลับสายกลาง การติดต่อสื่อสารระหว่างสถานีจะกระทำได้ด้วยการติดต่อผ่านทางวงจรของหน่วยสลับสายกลาง การทำงานของหน่วยสลับสายกลางจึงคล้ายกับศูนย์กลางของการติดต่อวงจรเชื่อมโยงระหว่างสถานีต่าง ๆ ที่ต้องการติดต่อกัน
2. แบบวงแหวน  เป็นแบบที่สถานีของเครือข่ายทุกสถานีจะต้องเชื่อมต่อกับเครื่องขยายสัญญาณของตัวเอง โดยจะมีการเชื่อมโยงของสัญญาณของทุกสถานีเข้าด้วยกันเป็นวงแหวน เครื่องขยายสัญญาณเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการรับข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองหรือจากเครื่องขยายสัญญาณตัวก่อนหน้าและส่งข้อมูลต่อไปยังเครื่องขยายสัญญาณตัวถัดไปเรื่อย ๆ เป็นวง หากข้อมูลที่ส่งเป็นของสถานีใด เครื่องขยายสัญญาณของสถานีนั้นก็รับและส่งให้กับสถานีนั้น เครื่องขยายสัญญาณจึงต้องมีการตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับว่าเป็นของตนเองหรือไม่ด้วย ถ้าใช่ก็รับไว้ ถ้าไม่ใช่ก็ส่งต่อไป
3. เครือข่ายแบบบัส (Bus Network)  เป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยสายเคเบิ้ลยาว ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ โดยจะมีอุปกรณ์ที่เป็นตัวเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เข้ากับสายเคเบิ้ล  ในการส่งข้อมูล จะมีคอมพิวเตอร์เพียงตัวเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อมูลได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ การจัดส่งข้อมูลวิธีนี้จะต้องกำหนดวิธีการ ที่จะไม่ให้ทุกสถานีส่งข้อมูลพร้อมกัน เพราะจะทำให้ข้อมูลชนกัน วิธีการที่ใช้อาจแบ่งเวลาหรือให้แต่ละสถานีใช้ความถี่ สัญญาณที่แตกต่างกัน ในการติดตั้งเครือข่ายแบบบัสนี้ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์แต่ละชนิด ถูกเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิ้ลเพียงเส้นเดียว ซึ่งจะใช้ในเครือข่ายขนาดเล็ก ในองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์ใช้ไม่มากนัก
                     4. แบบต้นไม้ (Tree Network)   เป็นเครือข่ายที่มีการผสมผสานโครงสร้างเครือข่ายแบบต่างๆเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่  การจัดส่งข้อมูลสามารถส่งไปถึงได้ทุกสถานี การสื่อสารข้อมูลจะผ่านตัวกลางไปยังสถานีอื่น ๆ ได้ทั้งหมด เพราะทุกสถานีจะอยู่บนทางเชื่อม รับส่งข้อมูลเดียวกัน

การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  ระบบเครือข่ายทำให้เกิดการสื่อสาร และการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะหมายความรวมถึงการสื่อสาร และการแบ่งปันการใช้ข้อมูลระหว่างบุคคลด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้คืองานของระบบเครือข่าย
รูปแบบการใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะการทำงาน ได้เป็น 3  ประเภทคือ
1 ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง (Centrallized Networks)
2. ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to Peer
3. ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server
2.ระบบเครือข่าย Peer-to-Peer
แต่ละสถานีงานบนระบบเครือข่าย Peer-to-Peer จะมีความเท่าเทียมกันสามารถที่จะแบ่งปันทรัพยากรให้แก่กันและกันได้ เช่น การใช้เครื่องพิมพ์หรือแฟ้มข้อมูลร่วมกันในเครือข่าย  เครื่องแต่ละสถานีงานมีขีดความสามารถในการทำงานได้ด้วยตัวเอง (Stand Alone) คือจะต้องมีทรัพยากรภายในของตัวเองเช่น ดิสก์สำหรับเก็บข้อมูล หน่วยความจำที่เพียงพอ และมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลได้
ระบบเครือข่าย Peer-to-Peer
ข้อดี
1ง่ายในการจัดตั้งระบบ     2 ราคาถูก     3 สะดวกต่อการบริหารจัดการ  
4 เหมาะสมสำหรับสำนักงานขนาดเล็ก ที่มีสถานีงานประมาณ 5-10 เครื่องที่วางอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
ข้อด้อย
ไม่มีระบบการป้องกันในรูปแบบของ บัญชีผู้ใช้ และรหัสผ่าน ในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ของระบบ
3.ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server

ระบบ Client/Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายสถานี ทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง และมีการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ จากส่วนกลาง ซึ่งคล้ายกับระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลาง แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ เครื่องที่ทำหน้าที่ให้บริการในระบบ Client/Server ราคาไม่แพงมาก ซึ่งอาจใช้เพียงเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงในการควบคุมการให้บริการทรัพยากรต่างๆ นอกจากนี้เครื่องลูกข่ายยังจะต้องมีความสามารถในการประมวลผล และมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลท้องถิ่นเป็นของตนเอง

3.ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server

   ระบบ Client/Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายสถานี ทำงานโดยมีเครื่อง Server ที่ให้บริการเป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง และมีการบริหารจัดกาทรัพยากรต่างๆ