การถ่ายโอนข้อมูล
เป็นการส่งสัญญาณออกจากเครื่องและรับสัญญาณเข้าไปในเครื่อง
การถ่ายโอนข้อมูลสามารถจัดจำแนกได้ 2 แบบ คือ
- การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน
- การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม
1. การถ่ายโอนข้อมูลแบบขนาน
ทำได้โดยการส่งข้อมูลออกมาทีละ
1
ไบต์ หรือ 8 บิต จากอุปกรณ์ส่งไปยังอุปกรณ์รับ
ตัวกลางระหว่างสองเครื่องจึงต้องมีช่องทางให้ข้อมูลเดินทางอย่างน้อย 8 ช่องทาง
เพื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านโดยมากจะเป็นสายสัญญาณแบบขนาน
2. การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรม
ข้อมูลจะถูกส่งออกมาทีละบิต
ระหว่างจุดส่งและจุดรับ การส่งข้อมูลแบบนี้จะช้ากว่าแบบขนาน
การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมต้องการตัวกลางสำหรับการสื่อสารเพียงช่องเดียวหรือสายเพียงคู่เดียว
การถ่ายโอนข้อมูลแบบอนุกรมจะเริ่มโดยข้อมูลจากจุดส่งจะถูกเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณอนุกรมเสียก่อน
แล้วค่อยทยอยส่งออกทีละบิตไปยังจุดรับ และที่จุดรับจะต้องมีกลไกในการเปลี่ยนข้อมูลที่ส่งมาทีละบิตให้เป็นสัญญาณแบบขนานซึ่งลงตัวพอดี
เช่น บิตที่ 1 ลงที่บัสข้อมูลเส้น
การติดต่อแบบอนุกรมอาจจะแบ่งตามรูปแบบรับ-ส่ง
ได้ 3 แบบคือ
1) สื่อสารทางเดียว
(simplex) ข้อมูลส่งได้ทางเดียวเท่านั้น
บางครั้งก็เรียกว่า การส่งทิศทางเดียว (unidirectional data bus) เช่น
การส่งข้อมูลไปยังเครื่องพิมพ์ การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ เป็นต้น
2) สื่อสารสองทางครึ่งอัตรา
(half duplex) ข้อมูลสามารถส่งได้ทั้งสองสถานี
แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันไม่ได้ เช่น
วิทยุสื่อสารของตำรวจ เป็นต้น
3) สื่อสารสองทางเต็มอัตรา
(full duplex) ทั้งสองสถานีสามารถรับและส่งได้ในเวลาเดียวกัน
เช่น การสนทนาทางโทรศัพท์เป็นต้น
1.ซิมเพล็กซ์ (Simplex
tranmission)
ข้อมูลสามารถเดินทางไปในทิศทางเดียวเท่านั้น เหมือนการเดินรถบนถนนที่มีช่องทางเดินรถแบบทางเดียว
ข้อมูลสามารถเดินทางไปในทิศทางเดียวเท่านั้น เหมือนการเดินรถบนถนนที่มีช่องทางเดินรถแบบทางเดียว
- ตัวอย่างเช่น
การส่งสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณจะถูกส่งมาจากสถานีส่งไปยังเครื่องรับโทรทัศน์ ได้เพียงทิศทางเดียวโดยไม่มีสัญญาณตอบกลับ
อุปกรณ์ส่งข้อมูลในทางคอมพิวเตอร์บางชนิดก็ส่งในลักษณะนี้ เช่น เครื่องมือตรวจวัดแรงสั่นสะเทือนของโลกจากแผ่นดินไหว
2.ฮาฟ-ดูเพล็กซ์ (Half -duplex
transmission)
ข้อมูลสามารถเดินทางไปได้ทั้งสองทิศทาง แต่ต้องไม่ใช่ในเวลาเดียวกัน เหมือนกับการเดินรถตรงช่วงข้ามสะพานแคบๆ ไม่สามารถสวนทางกันได้ต้องสลับกัน
ข้อมูลสามารถเดินทางไปได้ทั้งสองทิศทาง แต่ต้องไม่ใช่ในเวลาเดียวกัน เหมือนกับการเดินรถตรงช่วงข้ามสะพานแคบๆ ไม่สามารถสวนทางกันได้ต้องสลับกัน
-ตัวอย่างเช่น
การสื่อสารด้วยวิทยุที่ใช้ในหน่วยทหาร, ดับเพลิง หรือตำรวจ เป็นต้น คู่สนทนาจะต้องสลับกันพูด
การสื่อสารข้อมูลในปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมใช้แบบฮาฟ-ดูเพล็ก
3. ฟูล-ดูเพล็กซ์ (Full -duplex
transmission)
ข้อมูลสามารถถูกส่งไปและกลับได้ในเวลาเดียวกัน
เหมือนการเดินรถบนถนนที่มีช่องทางเดินรถแบบสองทาง
รถยนต์สามารถวิ่งสวนทางกันได้ในเวลาเดียวกัน
-ตัวอย่างเช่น
การสนทนาโดยโทรศัพท์ คู่สนทนาสามารถพูดและฟังในเวลาเดียวกันได้
นิยมใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN)
จุดเริ่มต้นของเครือข่ายไร้สาย(Wireless
LAN)
-เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1971
-ลักษณะการส่งข้อมูลเป็นแบบ Bi-directional
ส่งไป-กลับง่ายๆ ผ่านคลื่นวิทยุ สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ 7
เครื่อง
ระบบเครือข่ายไร้สาย
(WLAN = Wireless Local Area Network)
คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความ คล่องตัวมาก
ซึ่งอาจจะนํามาใช้ทดแทนหรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิม
โดยใช้การส่งคลื่น ความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ
คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ,
ทะลุกําแพง, เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ
โดยปราศจากความต่องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบ เครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ
LAN แบบใช้สาย
คุณลักษณะที่สำคัญของWLAN
WLANไม่ต้องใช้สาย
ทําให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทําได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย
ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตําแหน่งการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ความต้องการเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารในการทำธุรกิจเพิ่มขึ้น
-การใช้โทรศัพท์มือถือในการติดต่อธุรกิจ
และชีวิตประจำวัน
ความต้องการใช้ข้อมูลและบริการทางธุรกิจเพิ่มขึ้น
-การใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารแบบไร้สาย
เช่นโทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุค เครื่องปาล์ม เป็นต้น
ใครบ้างที่ได้ประโยชน์จากWLAN
-หมอหรือพยาบาลในโรงพยาบาล เพราะสามารถดึงข้อมูลมารักษาผู้ป่วยได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ โน้ตบุค ที่เชื่อมต่อกับ ระบบเครือข่ายไร้สายได้ทันที
-หมอหรือพยาบาลในโรงพยาบาล เพราะสามารถดึงข้อมูลมารักษาผู้ป่วยได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ โน้ตบุค ที่เชื่อมต่อกับ ระบบเครือข่ายไร้สายได้ทันที
-นักศึกษาในมหาวิทยาลัย
สามารถใช้งานโน็ตบุคเพื่อค้นคว้าข้อมูลในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย หรือ
ใช้อินเตอร์เน็ทจากสนามหญ้าในมหาลัยได้
-นักธุรกิจที่มีความจําเป็นต้องใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานที่
ไม่ว่าจะเป็นการนําเสนองานยังบริษัทลูกค้า
หรือการนําเครื่องคอมพิวเตอร์ติดตัวไปงานประชุมสัมมนาต่างๆ
บุคคลเหล่านี้มีความจําเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรซึ่งอยู่ห่างออกไป
หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะ เช่นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
รูปแบบและการทํางานของระบบเครือข่ายไร้สาย
-ระบบเครือข่ายไร้สาย
เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
-ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ไม่มากนัก
- จํากัดอยู่ในอาคารหลังเดียวหรืออาคารในละแวกเดียวกัน
-มีความสะดวกสบายที่ไม่ต้องติดอยู่กับที่
ผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้โดยที่ยังสื่อสารอยู่ในระบบเครือข่าย
รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายไร้สาย
รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบ
Peer to Peer เป็นลักษณะ การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรง
ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จํานวน 2 เครื่องหรือมากกว่านั้น
เป็นการใช้งานร่วมกันของ wireless adapter cards โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย
เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน
การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
กับ Access Point ของเครือข่ายไร้สายจะ อยู่ในรัศมีประมาณ 500
ฟุต ภายในอาคาร และ 1000 ฟุต ภายนอกอาคาร
หากสถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้าง มากๆ เช่นคลังสินค้า บริเวณภายในมหาวิทยาลัย
สนามบิน จะต้องมีการเพิ่มจุดการติดตั้ง AP ให้มากขึ้น เพื่อให้การรับ
ส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง
แนวโน้มของระบบเครือข่ายไร้สาย
-ในช่วง 10
ปีที่ผ่านมาเทคโนโลยีระบบเครือข่ายมีการพัฒนาที่รวดเร็ว
มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงไป อย่างเรื่อยๆ ไม่หยุดยั้ง
-ในอนาคตอันใกล้นี้จะได้เห็นระบบเครือข่ายไร้สายที่ทํางานได้รวดเร็วขึ้นเนื่องจากการ
พัฒนาในเทคนิคการมอดูเลตสัญญาณคลื่นวิทยุ
-การพัฒนาเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ในระดับพื้นฐานช่วยกระตุ้นให้ระบบเครือข่ายไร้สายพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว
เช่นคลื่นความถี่วิทยุที่สร้างจากสาร Galliumarsenide และ ชิป DSP เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น